การเปิดร้านสะดวกซื้อ 2
อัพเดทล่าสุด: 23 ต.ค. 2024
154 ผู้เข้าชม
การเปิดร้านสะดวกซื้อ 2
เมื่อเราตัดสินใจที่จะเปิดร้านแล้ว สิ่งที่ต้องจัดการถัดมาคือ การวางแผนเรื่องเงินลงทุน
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ เงินลงทุนปรับปรุงร้าน และ เงินที่ใช้หมุนในการซื้อขายและบริหารค่าใช้จ่ายร้าน 1.เงินลงทุนปรับปรุงร้าน ในส่วนนี้เราต้องมีแผนผังผืนที่ให้เรียบร้อย วัดขนาดกว้าง * ยาว และความสูงของเพดาน และลองวาดภาพออกแบบการวางแนวชั้นวาง เว้นระยะทางเดินสำหรับเติมสินค้าและให้ลูกค้าเดินเลือกสินค้าได้ ประตูทางเข้า จุดชำระเงิน พื้นที่สินค้าจัดโปรโมชัน เป็นต้น
สำหรับการวางแผนการเงินสำหรับการปรับปรุงร้านก็จะมีการคำนวณเรื่องของ
1.ชั้นวางสินค้า ตู้แช่ พาเลทวางสินค้า
ชั้นวางก็มีอยู่หลายประเภท เช่น
1.1 ชั้นไมโครแล็คก็จะแบ่งเป็น ไมโครแล็คขนาดหนาและไมโครแล็คบาง ขนาดหนาเราก็อาจเอาไว้สินค้าที่มีน้ำหนักมาก ส่วนไมโครแล็คบางเราก็เอาไว้สินค้าที่มีน้ำหนักเบาได้ สิ่งที่ควรทำคือ หาตาข่ายเหล็กดัดเล็กๆ มากั้นด้านหลังด้วย เพื่อกันสินค้าตกหรือสินค้าเลยไปอีกช่อง หรือวางติดผนัง
1.2 ชั้นไมโครแลคอเนกประสงค์สำเร็จรูป ที่มีถาดชั้นวางไม่ใหญ่มาก แต่สามารถขยับขึ้น ลง ได้อย่างอิสระ ชั้นแบบนี้เป็นที่นิยมใช้ในร้านสะดวกซื้อมากที่สุดครับ ส่วนใหญ่จะนิยมวางในแถวบริเวณกลางร้าน
1.3 ชั้นเหล็กซีและใช้ไม้อัดในการวางเป็นฐาน ชั้นแบบนี้ข้อดีคือ มีราคาที่ถูก แต่จะปรับชั้น ขึ้น ลง ได้ยาก และไม่สามารถวางของหนักมากๆ ได้ เหมาะกับการวางของเบาเบาและติดฝาผนังมากกว่า
1.4 พาเลทวางสินค้า ชิ้นนี้เอาไว้สำหรับวางสินค้าที่พื้น เช่นพวก ข้าวสาร อาหารสัตว์ เพื่อกันน้ำด้วย กันแมลงด้วย ที่สำหรับคัญหากร้านมีขนาดใหญ่ก็สามารถใช้ รถลากพาเลทในการเคลื่อนย้ายได้
1.5 ตู้แช่สินค้า ก็แบ่งออกเป็น
1.5.1 ตู้แช่เครื่องดื่ม มีตั้งแต่ 1ช่อง 2ช่อง 3ช่อง ยิ่งบานมากยิ่งมีส่วนลดราคาที่มาก ควรหามือ 1 ไม่ควรใช้มือ2 ที่มีอายุนานเพราะเปลืองค่าไฟ
1.5.2 ตู้แช่น้ำแข็งหรือบางที่ก็อาจใช้ถังพลาสติกในการขาย
1.5.3 ตู้แช่ควบคุมอุณหภูมิติดลบ พวกอาหารสดพวกเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง เป็นต้น
2.เคาเตอร์ ชำระเงิน การออกแบบเคาเตอร์คิดเงินก็เป็นจุดสำคัญ เนื่องจากบริเวณนี้เป็นจุดที่ลูกค้าจะนำสินค้ามารอคิดเงิน เป็นจุดที่ลูกค้าทุกคนจะใช้เวลาอยู่นาน ดังนั้นการจัดวางสินค้าหน้าเคาเตอร์จึงสำคัญ เช่นสินค้าทานเล่น สินค้าจัดโปรโมชั่น หรือสินค้าเล็ก ๆ ทั่วไป วางเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ เป็นต้น
3.ระบบการบริหาร คิดเงิน จัดการสินค้าคงคลัง เครื่องบันทึกรายการขาย (POS) ทั้ง อุปกรณ์และโปรแกรม
ในระยะแรกหากคุมร้านเองอาจยังไม่ต้องใช้ หรือไม่ต้องใช้ก็ได้ ก็เป็นการประหยัดงบประมาณด้วย แต่หากอยากจะมีระบบการจัดการที่ดี มีเวลาว่าง หรือสามารถจ้างคนพนักงานมาดูแทนได้ ก็ต้องยอมลงทุนและศึกษาให้มาก เพื่อทำมัน
4..การปรับปรุง อาคารขายของ
ส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละคนเลยครับ บางท่านเป็นบ้าน บางท่านเป็นพื้นที่เปล่า บางท่านเป็นอาคารเช่า ก็ต้องคำนวณงบค่าใช้จ่ายให้ดี ออกแบบให้น่าเข้าซื้อ ไม่ควรออกแบบให้สวยหรือสะอาดมากเกินไป เพราะยิ่งทำให้รู้สึกเข้าถึงยากมากเท่าไหร่ ก็เป็นข้อเสียของร้านสะดวกซื้อครับ ต้องคิดว่าลูกค้าเดินเข้าไป หยิบ (จัดวางสินค้าเป็นหมวดค้นหาได้ง่าย) จ่ายตัง จบ จะดีที่สุด
5.อุปกรณ์อำนวยความสะดวก รถขนส่ง ต่าง ๆ
ส่วนนี้ก็แล้วแต่ร้านเช่นกัน บางท่านอาจมีบริการส่งฟรีบริเวณร้าน ก็อาจต้องลงทุนรถพ่วงข้าง ซาเล้ง หรือเป็นรถเข็นเหล็ก เช่น แก๊สหุงต้ม น้ำดื่ม น้ำแข็ง เป็นต้นครับ
ซึ่งรายจ่ายในส่วนนี้จะเป็นรายจ่ายที่จ่ายครั้งเดียว แต่มีต้นทุนที่มากครับ บางท่านอาจค่อย ๆ ลงทุน ด้วยการใช้ตู้เย็นตัวเอง หรือค่อยๆ ซื้อชั้นเพิ่มเข้าเรื่อย ๆ ครับ แต่ควรมีภาพรวมในหัวให้มากที่สุด ว่าสุดท้ายร้านของเราจะต้องมีอะไร และจัดวางแบบไหน เป็นต้นครับ
2.เงินที่ใช้ในการลงสินค้าและเงินหมุนเวียนในการซื้อขายและบริหารค่าใช้จ่ายร้าน
โดยการลองตั้ง งบประมาณรวม ให้เป็น 100เปอเซนต์ ก่อน แล้วจึง ลองคำนวณสัดส่วน โดยใช้แผนภูมิวงกลมในการแบ่งสัดส่วนเปอเซนต์ เช่น
สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เครื่องดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุปกรณ์ครัวเรือน ขนม ยาสูบ อาหารแห้ง อุปกรณ์การเกษตร บรรจุภัณฑ์ เครื่องปรุง เป็นต้น
เครื่องดื่ม 15เปอเซนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 20เปอเซนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค 5เปอเซนต์
อุปกรณ์ครัวเรือน 5เปอเซนต์ ขนม 15 เปอเซนต์ ยาสูบ 5เปอเซนต์
อุปกรณ์การเกษตร 5เปอเซนต์ บรรจุภัณฑ์ 5เปอเซนต์ เครื่องปรุงรส 10เปอเซนต์
อาหารแห้ง 15เปอเซนต์
เนื่องจากราคาของ ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีราคาแพง แต่ก็เป็นสินค้าที่ออกไว ดังนั้นจึงจัดให้อยุ่ในสัดส่วนที่สูง ถัดลงมาเป็น อาหารแห้ง ขนม เครื่องดื่ม ที่เป็นสินค้าที่ออกง่าย ขายไว ดึงดูดให้คนเข้าร้านได้ แล้วสุดท้ายเป็น สินค้าอุปโภคทั่วไป อุปกรณ์ครัวเรือน อุปกรณ์การเกษตร บรรจุภัณฑ์ ที่เป็นสัดส่วนที่น้อย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ การบริโภคยังไม่แน่นอน ต้องให้เกิดการซื้อซ้ำก่อนเรื่อย ๆ และทุกอย่างก็อยู่ที่ทำเลที่ตั้งของร้านด้วยครับ
ซึ่งข้อควรแนะนำคือควรลงของไปเรื่อย ๆ ซักประมาณ 70เปอเซนต์ของเงินทุนก่อน และอีก 30เปอเซนต์ จึงใช้เป็นเงินที่ซื้อของที่กลุ่มลูกค้าชอบซื้อหรือถามหา เพื่อให้เกิดความผูกพันธ์ระหว่างร้านและลูกค้า และให้ค่อยเป็นค่อยไปครับ
การลงสินค้ารอบแรก ถ้าเป็นไปได้ ก็ควรซื้อกับร้านค้าส่งหรือห้างใหญ่ เนื่องจากจะได้รับสินค้าที่ครบ ตามหมวดหมู่ที่ต้องการครับ แล้วหลังจากนั้น จึงเปิดร้านไปเรื่อย ๆ วันดีคืนดีก็จะมีเซลล์ของสินค้า นั้น ๆ แวะเข้ามาทักทาย หรือนำเสนอสินค้าให้ครับ ก็อยู่ที่เราจะซื้อเข้าไหม หรืออาจซื้อกับร้านค้าส่ง ห้างค้าส่งไปเรื่อย ๆ ก็ได้ครับ หรือจะลองซื้อผ่านแพทฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ในช่วงลดราคาก็ได้ครับ แต่ต้องดูดีดีเรื่องค่าขนส่ง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกสินค้าเล็กๆ เช่นเครื่องสำอาง หรือ อิเล็กโทรนิกส์ขนาดเล็ก ที่สามารถใช้โค้ดในการลดค่าขนส่งได้ ครับ
สุดท้ายแล้วผมก็อยากจะแนะนำท่านที่สนใจลงทุนร้านสะดวกซื้อเอง เงินที่ใช้ควรเป็นเงินเก็บ เงินเย็น ไม่ใช้เงินกู้ทั้งหมด ธุรกิจนี้ เงินกู้ใช้ได้นะครับ แต่ควรเป็นเงินกู้ระยะสั้น (OD) และใช้ในช่วงที่ขายดี ช่วงเทศกาล หรือตุนของที่จะราคาขึ้นมากกว่าครับ เพราะเอาจริง ๆ แล้ว ร้านสะดวกซื้อ ให้เงินลงทุนในช่วงเปิดร้านค่อนข้างมาก แต่กำไรที่ได้นั้น ไม่ได้มาก แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำเงินให้กับเราได้ตลอดครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง